การเก็งกำไร (Arbitrage)

การเก็งกำไร (Arbitrage) คืออะไร

นิยามของการทำ Arbitrage คือการซื้อสินทรัพย์ชนิดหนึ่งในตลาดหนึ่ง และนำไปขายในตลาดอื่นในราคาที่สูงกว่าในเวลาเดียวกัน การกระทำเช่นนี้จะทำให้นักลงทุนได้กำไรจากส่วนต่างราคาที่เกิดขึ้น ณ ช่วงเวลานั้นๆ กลยุทธ์การทำ Arbitrage สามารถใช้ได้กับหลายๆสินทรัพย์ไม่ว่าจะเป็น สินค้าโภคภัณฑ์ หุ้น หรือค่าเงิน 

ประเด็นสำคัญ

  • การทำ Arbitrage เกิดขึ้นเมื่อทำการซื้อสินทรัพย์ชนิดหนึ่งในตลาดหนึ่งและนำไปขายในอีกตลาดหนึ่งในราคาที่สูงกว่าในเวลาเดียวกัน
  • เทรดเดอร์สามารถทำกำไรได้จากความแตกต่างของราคาในทั้งสองตลาดซึ่งมักจะเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
  • เทรดเดอร์มักใช้โอกาสนี้กับตลาดหุ้นโดยทำการซื้อหุ้นในตลาดต่างประเทศซึ่งราคายังไม่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของค่าเงินและนำมาขายเพื่อทำกำไรจากส่วนต่างนี้
  • กลยุทธ์การทำ Arbitrage ในทางทฤษีถือเป็นกลยุทธ์ที่ปราศจากความเสี่ยง (Risk Free)

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเก็งกำไร

การทำ Arbitrage เป็นกลยุทธ์การซื้อขายที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย และอาจเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การซื้อขายที่เก่าแก่ที่สุดที่มีอยู่ แนวคิดนี้เกี่ยวข้องกับทฤษฎีประสิทธิภาพของตลาด โดยทฤษฎีระบุว่าเพื่อให้ตลาดมีประสิทธิภาพอย่างสมบูรณ์แบบ จะต้องไม่มีโอกาสในการทำ Arbitrage เกิดขึ้นเลย  โดยสินทรัพย์ชนิดเดียวกันที่ทำการซื้อขายบนตลาดควรจะต้องมีราคาเท่ากัน ตามกฎ Law of one price การตอบสนองต่อข้อมูลในตลาดและการปรับตัวเข้าหากันของราคาในตลาดที่แตกต่างกันจะเป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพของตลาด

แบบจำลองทางการเงิน Capital Asset Pricing Model (CAPM) และทฤษฎีการกำหนดราคา Arbitrage อธิบายว่าการทำ Arbitrage จะเกิดขึ้นเนื่องจากการกำหนดราคาสินทรัพย์ที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นจะมีเทรดเดอร์ในตลาดที่เล็งเห็นถึงโอกาส เข้ามาทำกำไรจากส่วนต่างของราคาส่งผลให้ราคาของสินทรัพย์ปรับตัวเข้าหากัน สินค้าที่ราคาแพงจะปรับตัวถูกลง สินค้าที่ราคาถูกจะปรับตัวสูงขึ้น

การทำ Arbitrage เป็นกลไกเพื่อให้แน่ใจว่าราคาจะไม่เบี่ยงเบนไปจากมูลค่ายุติธรรมอย่างมีนัยสำคัญเป็นระยะเวลานาน ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การทำ Arbitrage จากการกำหนดราคาที่ผิดพลาดในตลาดจึงเป็นเรื่องยากมาก เทรดเดอร์หลายรายมีระบบการซื้อขายทางคอมพิวเตอร์ที่ตั้งค่าไว้เพื่อติดตามความผันผวนของราคาที่คล้ายคลึงกัน ส่งผลทำให้โอกาสในการทำ Arbitrage เกิดขึ้นในช่วงเวลาเพียงแค่ไม่กี่วินาที

กองทุนกับการเก็งกำไร

แม้ว่านี่จะเป็นกลยุทธ์ง่ายๆ แต่น้อยมากที่กองทุนรวมจะอาศัยกลยุทธ์ดังกล่าวเพียงอย่างเดียวในการบริหารจัดการกองทุน ข้อเท็จจริงนี้สามารถอธิบายได้ด้วยความยากลำบากที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเพียงไม่กี่วินาที จากการเพิ่มขึ้นของการซื้อขายทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถดำเนินการคำสั่งซื้อขายได้ภายในเสี้ยววินาที การเข้ามาของเทคโนโลยีที่มีผลต่อความสะดวกรวดเร็วในการซื้อขายสินทรัพย์ส่งผลทำให้ตลาดมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ช่วงระยะเวลาของการที่สินทรัพย์ใดๆจะมีการกำหนดราคาที่ผิดพลาดจึงน้อยลงโอกาสการทำ Arbitrage จึงทำได้ยากมากยิ่งขึ้น 

นอกจากนี้ สินทรัพย์ที่เท่ากันซึ่งมีราคาแตกต่างกันโดยทั่วไปจะแสดงราคาที่แตกต่างกันเล็กน้อย ซึ่งน้อยกว่าต้นทุนการทำธุรกรรมของการค้าเก็งกำไร สิ่งนี้จะลบล้างโอกาสในการเก็งกำไรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยทั่วไปแล้วการเก็งกำไรมักถูกใช้โดยสถาบันการเงินขนาดใหญ่ เนื่องจากต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมากเพื่อระบุโอกาสและดำเนินการซื้อขาย และมักดำเนินการโดยใช้เครื่องมือทางการเงินที่ซับซ้อน เช่น สัญญาอนุพันธ์และการสังเคราะห์รูปแบบอื่นๆ เพื่อค้นหาสินทรัพย์ที่เทียบเท่า การซื้อขายอนุพันธ์มักเกี่ยวข้องกับการซื้อขายด้วยมาร์จิ้นและเงินสดจำนวนมากที่จำเป็นในการดำเนินการซื้อขาย

ตัวอย่างการเก็งกำไร

สมมติว่าเรามีเงินอยู่ 1,000,000 USD อัตราแลกเปลี่ยนของคู่เงินทั้งสามสกุลเป็นดังนี้

USD/EUR = 1.1586, EUR/GBP = 1.4600, and USD/GBP = 1.6939 การทำ Arbitrage จะมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

  • ขาย USD เพื่อซื้อ EUR : 1,000,000 ÷ 1.1586 = 863,110 EUR
  • ขาย EUR เพื่อซื้อ GBP : 863,110 ÷ 1.4600 = 591,171 GBP
  • ขาย GBP เพื่อซื้อ USD : 591,171 × 1.6939 = 1,001,384 USD
  • หักลบต้นทุนในตอนแรกออกจะได้กำไร : 1,001,384 – 1,000,000 = 1,384 USD

กำไรจากการทำ Arbitrage ในครั้งนี้คือ 1,384 USD โดยสมมติให้ไม่เสียต้นด้านการดำเนินการและภาษี

ตัวอย่างการเก็งกำไรโดยปราศจากความเสี่ยง

การทำ Arbitrage บนสินทรัพย์โดยนำอนุพันธ์เข้ามาช่วย สมมติให้ราคาซื้อขายทันที (Spot Price) ของทองคำแท่งคือ 1,000 USD และราคาซื้อขายล่วงหน้า  (Future Price) ของทองคำแท่งที่จะส่งมอบในอีก 1 ปีข้างหน้า เท่ากับ 1,050 USD (F0 = 1,050) เนื่องจากมูลค่าเริ่มต้นของสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีค่าเท่ากับ 0 และสมมุติว่าไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันใดๆในวันแรกที่ทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากระแสเงินสดจากการ Short สัญญาซื้อขายล่วงหน้าของทองคำแท่งในวันนี้จึงเท่ากับ 0 ดังนั้นกระแสเงินสดสุทธิจากการซื้อขายทั้งหมดในวันแรกจะเท่ากับ 0 

ในอีก 1 ปีข้างหน้า ณ วันหมดอายุของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า จะต้องทำการชำระคืนเงินกู้ โดยมีเงินต้นที่ 1,000 USD และดอกเบี้ยที่อัตราร้อยละ 2 ต่อปี และสมมุติให้ราคาซื้อขายทันที ณ วันส่งมอบเท่ากับ St กำไร/ขาดทุนจากการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าจึงเท่ากับ 1,050-St ดังนั้นกระแสเงินสดทั้งหมด ณ วันส่งมอบจึงเท่ากับ 1,050-1,000 (1+0.02)1 เท่ากับ 30 USD ซึ่งถือเป็นกำไรจากการทำ Arbitrage ที่ปราศจาความเสี่ยงกล่าวคือ ไม่ว่า St จะเป็นเท่าไหร่ก็ตามจะสามารถทำกำไรได้ 30 USD เสมอ 

 

การดำเนินการ ณ วันแรก

กระแสเงินสดเริ่มต้น

กระแสเงินสด ณ วัดหมดอายุ

กู้ยืมเงิน 1,000 USD

+1,000

-1,000(1+0.02)1

ซื้อทองคำแท่ง

-1,000

St

Short สัญญาซื้อขายล่วงหน้าทองคำ

0

1,050 – St

ทั้งหมด

0

1,050 -1,000(1+0.02)1 =30 USD