Bear Market

ตลาดหมีเป็นศัพท์ที่รู้จักกันในวงการการเงินอย่างแพร่หลาย นิยามของตลาดหมีคือการที่ ตลาดมีการปรับตัวของราคาลงอย่างต่อเนื่อง หรือมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งโดยส่วนมากเกิดจากการที่นักลงทุนในตลาดขาดความเชื่อมั่นในการลงทุนในตลาดนั้นๆ การเทขายอย่างรุนเเรงกดดันให้ราคามีการปรับตัวลง รวมไปถึงสภาพเศรษฐกิจที่ไม่ดี ไม่ว่าจะเป็นการเมือง สงคราม หรือ การเปลี่ยนแปลงของรูปแบบเศรษฐกิจ

โดยส่วนมากเราจะอ้างอิงจากดัชนีในตลาดหุ้นเป็นหลักเพื่อใช้ในการบ่งบอกว่าตลาดนั้นอยู่ในสภาวะตลาดแบบใด แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถใช้กับหุ้นหรือสินทรัพย์รายตัวได้ด้วย เมื่อราคาสินค้ามีการปรับตัวของราคาลดลงมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ เป็นระยะเวลานาน เราจะถือว่าหุ้นตัวนั้นอยู่ในขาลงหรืออยู่ในตลาดหมี ตลาดหมีมาพร้อมกับการถดถอยของเศรษฐกิจซึ่งสะท้อนอยู่ในดัชนีตลาดหุ้น ตลาดหมีจะตรงข้ามกับตลาดกระทิงซึ่งเป็นตลาดขาขึ้น ศึกษาตลาดหมีและตลาดกระทิง


ประเด็นสำคัญ

  • ตลาดหมีคือตลาดขาลงซึ่งเกิดขึ้นเมื่อดัชนีหรือราคามีการปรับตัวลดลงกว่า 20 เปอร์เซ็นต์เป็นระยะเวลานาน ซึ่งมักเกิดขึ้นจากการที่นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นในการลงทุน การถดถอยของเศรษฐกิจ
  • ตลาดหมีสามารถเกิดได้ทั้งในรูปแบบวงจรของเศรษฐกิจ (มีการย่อตัวพักฐานก่อนจะไปต่อ) หรือเกิดในระยะยาว โดยมีระยะเวลาตั้งแต่ หลายสัปดาห์ ยาวนานไปจนถึงหลักสิบปี 
  • การใช้อนุพันธ์เข้ามาช่วย เช่น การ Short Sell ดัชนีหรือหุ้น หรือการใช้อนุพันธ์ที่เรียกว่า Options มาเสริมจะทำให้สามารถทำกำไรจากการตลาดหมีได้


ทำความเข้าใจเกี่ยวกับตลาดหมี 

ราคาหุ้นในตลาดมักสะท้อนความรู้สึกหรือแนวคิดของนักลงทุนที่มีต่อหุ้นตัวนั้น ถ้าบริษัทมีผลประกอบการที่ต่ำกว่าที่นักลงทุนคาดการไว้ จะเกิดแรงขายและกดดันราคาให้ลดต่ำลง รวมไปถึงพฤติกรรมการลงทุน ความกลัวและพฤติกรรมเลียนแบบ สร้างแรงกดดันให้กับราคาหุ้นตัวนั้น นอกจากนี้จิตวิทยาการลงทุนของนักลงทุนแต่ละคนก็มีผลต่อราคาตลาด นักลงทุนที่มีความกลัวความเสี่ยงจะมีผลต่อราคาตลาดในเชิงลบมากกว่านักลงทุนที่ชอบความเสี่ยง

สาเหตุของการเกิดตลาดหมีมักจะแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปแล้ว เศรษฐกิจที่ชะลอตัวหรือซบเซา ฟองสบู่แตก โรคระบาด สงคราม และการเปลี่ยนแปลงรูปแบบในระบบเศรษฐกิจที่รุนแรง เช่น การเปลี่ยนไปสู่เศรษฐกิจออนไลน์ ล้วนเป็นปัจจัยทั้งหมดที่อาจทำให้เกิดตลาดหมีได้ สัญญาณของเศรษฐกิจที่อ่อนแอหรือชะลอตัวโดยทั่วไปมีดังนี้

  • อัตราการาจ้างงานที่ต่ำ สัดส่วนของคนที่มีงานทำในสังคมที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยหรือระดับที่เหมาะสม ซึ่งเป็นสัญญาณว่ามีคนว่างงานมากกว่าคนที่มีงานทำ อัตราการจ้างงานที่ต่ำส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมและความเป็นอยู่ของประชาชน ทำให้เกิดความยากจนและความไม่มั่นคงในชีวิต
  • ผลผลิตทางเศรษฐกิจที่ต่ำ การที่ประเทศหรือภูมิภาคใดๆ มีการผลิตสินค้าและบริการที่ลดลงหรือต่ำกว่าที่คาดหวัง ผลผลิตทางเศรษฐกิจที่ต่ำส่งผลให้รายได้ของประเทศลดลง อัตราการว่างงานสูงขึ้น และอาจทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อตามมา
  • ผลกำไรในธุรกิจที่ลดลง ผลกำไรในธุรกิจที่ลดลงเกิดขึ้นเมื่อรายได้จากการดำเนินธุรกิจลดน้อยลง หรือค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มสูงขึ้น ทำให้กำไรสุทธิลดลง เมื่อธุรกิจมีผลกำไรจากการดำเนินงานที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ อาจสะท้อนถึงสภาพเศรษฐกิจที่ถดถอย

การแทรกแซงของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจสามารถกระตุ้นให้เกิดภาวะตลาดหมีได้ ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีหรืออัตราเงินกองทุนของรัฐบาลกลางอาจนำไปสู่ตลาดหมีได้ ในทำนองเดียวกัน ความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ลดลงอาจส่งสัญญาณถึงการเริ่มต้นของตลาดหมี เมื่อนักลงทุนมีความเชื่อว่ากำลังจะมีข่าวหรือการเปลี่ยนแปลงสำคัญจากรัฐบาลเกิดขึ้น พวกเขาจะทำการขายหุ้นออกเพื่อป้องกันการขาดทุน


ระยะของตลาดหมี

ตลาดหมีประกอบไปด้วย 4 ระยะ

  • ระยะแรกของตลาดหมี ในระยะเริ่มแรกหุ้นจะมีราคาที่สูงจากการที่นักลงทุนยังคงมีความเชื่อมั่นในตลาด เมื่อเวลาผ่านไปใกล้ถึงจุดสิ้นสุด นักลงทุนจะทำการขายหุ้นเพื่อทำกำไร
  • ระยะที่สองของตลาดหมี ในระยะที่สอง ราคาหุ้นเริ่มลดลงอย่างรวดเร็ว กิจกรรมการซื้อขายและผลกำไรของบริษัทเริ่มลดลง และตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นเชิงบวก เริ่มต่ำกว่าค่าเฉลี่ย นักลงทุนบางรายเริ่มตื่นตระหนกและขาดความเชื่อมั่น 
  • ระยะที่สาม นักเก็งกำไรเริ่มมองเห็นโอกาสจากราคาหุ้นที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง จึงใช้โอกาสนี้ในการเก็งกำไรส่งผลทำให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ
  • ระยะที่สี่ ราคาหุ้นยังคงตกลงอย่างต่อเนื่อง แต่ช้าๆ เมื่อถึงจุดที่ลงมาต่ำมากๆ ประกอบกับข่าวดีทางเศรษฐกิจดึงดูดให้นักลงทุนเริ่มกลับมาสนใจลงทุนอีกครั้ง ราคาจึงมีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น


การ Short Sell ในตลาดหมี

        การ Short Sell หรือการขายชอร์ต เป็นกลยุทธ์การลงทุนที่นักลงทุนขายสินทรัพย์ที่ตนเองไม่ได้เป็นเจ้าของ ณ ขณะนั้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อทำกำไรจากการที่ราคาของสินทรัพย์นั้นลดลงในอนาคต

ตัวอย่างของการ Short Sell:

  • สมมติราคาหุ้นของบริษัท A ปัจจุบันอยู่ที่ 100 บาทต่อหุ้น นักวิเคราะห์คาดว่าราคาหุ้นจะลดลงในอนาคต
  • นักลงทุนยืมหุ้นบริษัท A จำนวน 100 หุ้น และทำการขายในตลาดในราคา 100 บาทต่อหุ้น ทำให้ได้มา 10,000 บาท
  • เมื่อเวลาผ่านไป ราคาหุ้นบริษัท A ลดลงเหลือ 70 บาทต่อหุ้น นักลงทุนซื้อคืนหุ้นในราคา 70 บาท ทำให้ใช้เงิน 7,000 บาทในการซื้อหุ้นคืน
  • นักลงทุนคืนหุ้นที่ยืมมา และกำไรจากการขายชอร์ตคือ 10,000 – 7,000 = 3,000 บาท (หักค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ย)

ตัวอย่างของตลาดหมีในอดีต ได้แก่

  • วิกฤตการณ์การเงินโลกปี 2008
  • วิกฤตการณ์ต้มยำกุ้งปี 2540
  • ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่
  • วิกฤตการณ์ดอทคอม

สถานการณ์ปัจจุบันที่อาจนำไปสู่ตลาดหมี ได้แก่

  • ภาวะเงินเฟ้อที่สูงและการขึ้นอัตราดอกเบี้ย
  • ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์
  • วิกฤตการณ์พลังงาน
  • ปัญหาหนี้สิน

ตลาดหมีแบบโควิด-19 ในช่วงต้นปี 2020 ก็ถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของตลาดหมีที่เกิดจากปัจจัยภายนอกที่ไม่คาดคิด แม้ว่าตลาดจะฟื้นตัวขึ้นมาได้ในที่สุด แต่ช่วงเวลาที่ตลาดอยู่ในภาวะขาลงนั้นถือเป็นตัวอย่างของตลาดหมีที่เกิดจากปัจจัยภายนอกที่ไม่คาดคิด 

คนที่อยู่ในตลาดช่วงนั้น คงจำภาพความน่ากลัวที่มองไปตลาดไหนก็ลงกันวายวอด ตลาดหุ้นไทยก็ไม่เว้น เจอ Circuit Breaker กันรายวันเลย แต่เมื่อเวลาผ่านไป…และตลาดฟื้นตัวกลับมา คนส่วนใหญ่ก็จะลืมความรู้สึกนั้นไป แม้ว่าเราจะไม่สามารถคาดการณ์อนาคตได้อย่างแม่นยำ แต่การเตรียมพร้อมรับมือกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น จะช่วยให้เรารับมือกับความผันผวนของตลาดได้ดีขึ้น และปกป้องเงินลงทุนของเราได้ในระยะยาวครับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *